แผนการจัดการเรียนรู้
หน่วยที่
๙ เรื่อง สนุกสนานกับการเล่น หัวข้อเรื่อง การเขียนจดหมาย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้น ป.๔ เวลา ๒
ชั่วโมง
๑.มาตรฐานการเรียนรู้
/ ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ท ๒.๑
|
ใช้กระบวนการเขียน
เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
|
ตัวชี้วัด มาตรฐาน ท ๒.๑ ข้อ ๕
เขียนจดหมายถึงเพื่อนและบิดามารดา
๒.สาระสำคัญ
การเขียนจดหมาย
เป็นการเขียนเรื่องราวเพื่อบอกให้คนอื่นรับรู้เรื่องราว
ว่าผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านทราบเรื่องอะไร
เป็นการเขียนสื่อสารชนิดหนึ่งที่ต้องใช้ภาษาเขียนสื่อสารให้ดี และเป็นจึงจะสื่อสารได้ตามเป้าหมาย
๓.จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. เข้าใจหลักความหมายและรูปแบบของการเขียนจดหมายกิจธุระ
๒.
เขียนจดหมายกิจธุระได้
๔.สาระการเรียนรู้
๑. รูปแบบการเขียนจดหมาย
๒.
การเขียนจดหมาย
๕.สมรรถนะสำคัญ
- ความสามารถในการสื่อสาร
- ความสามารถในการคิด
- ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
-
ความสามารถในการแก้ปัญหา
๖.คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑.มีวินัย
๒.ใฝ่เรียนรู้
๓.มุ่งมั่นในการทำงาน
๔.รักความเป็นไทย
๕.มีจิตสาธารณะ
๗.กระบวนการจัดการเรียนรู้
๑. ครูและนักเรียนทบทวนความรู้เดิมที่เรียนมาแล้ว
๒. ครูตั้งคำถามให้นักเรียนตอบเกี่ยวกับรูปแบบของจดหมายแบบต่าง
ๆแล้วถามนักเรียน เช่น
- การเขียนจดหมายกิจธุระคืออะไร
-
นักเรียนเคยเขียนจดหมายกิจธุระหรือไม่
-
นักเรียนคิดว่าจะสามารถเขียนจดหมายได้ไหม
๓.
นักเรียนฟังครูแจ้งให้ทราบว่า
ต่อไปนี้เราจะเรียนเรื่องการเขียนจดหมายกิจธุระ
ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า “การเขียนจดหมาย
เป็นการเขียนเรื่องราวเพื่อบอกให้คนอื่นรับรู้เรื่องราวว่าผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านทราบเรื่องอะไร
เป็นการเขียนสื่อ สารชนิดหนึ่งที่ต้องใช้ภาษาเขียนสื่อสารให้ดี
และเป็นจึงจะสื่อสารได้ตามเป้าหมายการเขียนจดหมายกิจธุระบางชนิดจะไม่ค่อยจะเน้นในเรื่องการใช้ภาษา
เท่าใดนัก แต่ก็ควรใช้ภาษาที่สุภาพ สื่อสารให้เข้าใจในทางที่ดี แต่บางชนิดก็ต้องใช้รูปแบบที่เป็นทางการ”จากนั้นครูอธิบายหลักการเขียนจดหมายให้นักเรียนฟังจนเข้าใจ
๔. นักเรียนเปิดหนังสือเรียนหน้า
๑๕๖ เพื่อศึกษา
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ
การเขียนจดหมาย
๕. เมื่อนักเรียนเข้าใจหลักการเขียนจดหมายธุรกิจแล้ว
ครูและนักเรียนร่วมกันเขียนจดหมายกิจธุระบนกระดาน
๖.นักเรียนดูแบบฟอร์มการเขียนจดหมายกิจธุระ ครูอธิบายเพิ่มเติมว่าควรทำอย่างไร
จะขึ้นหัวกระดาษอย่างไร
วันที่เอาไว้ตรงไหน ใช้คำขึ้นต้นและลงท้ายอย่างไร เขียนอะไรลงตรงไหนให้เข้าใจ
๗.นักเรียนทำแบบฝึกหัด
ชุดเขียนจดหมายกิจธุระ เสร็จแล้วนำส่งครูตรวจสอบและประเมินผลงาน
๖. สื่อ / แหล่งเรียนรู้ / บุคคล
๑.หนังสือเรียน ชุด ภาษาพาที ชั้น ป.๔
๒.หนังสือแบบฝึกหัด
๓.แบบฟอร์มการเขียนจดหมายกิจธุระ
๔.แบบประเมินการสังเกตพฤติกรรม
และแบบประเมินผลงานรายบุคคล
๗. วัดผลประเมินผล
กิจกรรมที่ประเมิน
|
เครื่องมือที่ใช้ใน
การประเมิน
|
วิธีการประเมิน
|
เกณฑ์การประเมิน
|
๑. สังเกตพฤติกรรมด้าน
คุณลักษณะ
|
แบบประเมินการสังเกต
พฤติกรรม
และแบบประเมินผลงาน
|
สังเกตรายบุคคล |
๑๖ =
ดีมาก
๑๓
– ๑๕ = ดี
๑๐
– ๑๔ = พอใช้
ต่ำกว่า
๑๐ = ปรับปรุง
|
๒. นักเรียนทำแบบฝึกหัด
|
แบบประเมินการสังเกต
พฤติกรรม
และแบบประเมินผลงาน
|
ตรวจงานรายบุคคล |
๘
- ๑๐ = ดีมาก
๖
– ๗ = ดี
๕ = พอใช้
ต่ำกว่า
๕ = ปรับปรุง
|
๑๐. บันทึกการสอน
ผลการเรียนรู้
………………………………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………
……………….…………………………………………………………………………
……………….…………………………………………………………………………
ปัญหา/อุปสรรค
……………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
………………………….………………………………………………………………
แนวทางแก้ไข
……………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
………………………….………………………………………………………………
ลงชื่อ…………………………………ผู้บันทึก
(
............................................
)
๑๑. ความคิดเห็นหัวหน้าวิชาการ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ…………………......…หัวหน้างานวิชาการ
(
............................................
)
๑๒. ความคิดเห็นของผู้บริหาร
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………………………
ลงชื่อ…………………......…....ผู้บริหารโรงเรียน
(
............................................
)